วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

จากการที่ไปศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

- ทำให้ทราบถึงการแบ่งสื่อการเรียนการสอน ตามประสบการณ์ของ เดล ซึ่งเราก็ได้แบ่งสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็น ดังนี้


ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience) เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เห็น ได้ยินเสียง ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น การเรียนจากของจริง (Real object) ได้ร่วมกันทำกิจกรรมหลังดูงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นต้น

ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของปลาโลมา เต่า และสัตว์ชนิดอื่นอีก และการใช้ ของตัวอย่าง (Specimen) เช่น กระดูกปลาวาฬ ฟันปลาฉลาม เป็นต้น

ขั้นที่ 3 การสาธิต (Demonstration) คือ การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์ สไลด์และฟิล์มสตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้ เช่น การสาธิตการให้อาหารปลา การฟังบรรยายจากวิทยากร

ขั้นที่ 4 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่ การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ เช่น การได้ไปศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ขั้นที่ 5 นิทรรศการ (Exhibition) คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ เช่น ป้ายข้อมูลสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ป้ายการเเนะนำสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ขั้นที่ 6 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture) ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง วิทยุ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ

ขั้นที่ 7 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน ในการเลือกนำไปใช้ สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้ คือ แผนภูมิต้นไม้ ห่วงโซ่อาหาร แผนที่แสดงที่ตั้งของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
 ทำให้ทราบถึงการนำงานประเภทกราฟิกมาใช้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ1. สื่อวัสดุกราฟิกประเภท 2 มิติ รูปร่างบางแบน เช่น รูปภาพของปลาชนิดต่างๆ และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆอีก ตัวหนังสือที่เป็นข้อมูลของสัตว์น้ำ และสัญลักษณ์ เป็นต้น

2. สื่อวัสดุกราฟิกประเภท 3 มิติ รูปทรงประกอบด้วยขนาดทั้ง 3 ทิศทางคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาวส่วนหนา ส่วนนูน ส่วนเว้า บางอย่างเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น บางอย่างเป็นสิ่งที่อยู่โดยธรรมชาติ เช่น

- หุ่นจำลองของสัตว์น้ำ ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงไม่สามารถนำมาแสดงได้

- ของจริงที่เราได้ยิน ได้เห็น สิ่งเร้าต่าง ๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ด้วยการแสดงสาระที่เป็นจริงได้ดีกว่าหุ่นจำลอง

- ป้านนิเทศต่างๆ ที่ใช้แสดงเรื่องราว เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ข้อความอธิบายภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอน สามารถใช้ได้ทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนการสอน

- ตู้อันตรทัศน์ที่แสดงฉากใต้ทะเล เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติ เรียนแบบธรรมชาติกระตุ้นความสนใจมีลักษณะเป็นฉาก มีความลึกคล้ายกับของจริง โดยมีกล่องพลาสติก หรือกระจก หรือแผ่นอคิริกใส ครอบอยู่


- กระบะทราย ที่แสดงการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต เป็นทัศนวัสดุ 3 มิติที่นำเสนอเรื่องราวจำลองคล้ายของจริงบนพื้นทรายและมีวัสดุต่าง ๆ สามารถสัมผัสได้โดยไม่มีวัสดุใดครอบอยู่
รูปภาพการไปดูงาน








8 กรกฎ

วันที่แปดกรกฏกำหนดไว้  เป็นวันวิทยาลัยการศึกษา
ขยายออกท้องถิ่นจินตนา  ให้อุดมศึกษาแก่ชาวไทย
เลือกจำเพาะเหมาะดีที่บางแสน  ต้องวางแผนกะการเป็นงานใหญ่
วางศิลาฤกษ์ลงตรงชายไพร  เพื่อจะได้ตึกงามอร่ามตา
ตัดมะพร้าว แผ้วถาง สร้างถนน  แต่ละต้น เสียดายเป็นหนักหนา
เพราะ น้ำหอมระรื่นชื่นอุรา   แต่เพื่อการศึกษาก็จำใจ
ท่านผู้ใดจะใช้ถนนนี้  ทุกทิวาน่าที่จะครวญใคร่
ว่าตนช่วยสร้างวิทยาลัย  ให้ชื่อหอมแทนได้หรือไม่เอย"
วันนี้เป็นวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 เป็นวันสถาปนาของมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีประเพณีวิ่งเขาสามมุขขึ้นมาเพื่อให้นิสิตเชื่อว่าการวิ่งเขาสามมุขเป็นสิ่งที่ดีและเมื่อถึงจุดเส้นชัย แล้วคนไหนที่เหยียบ A ก็มีความเชื่อต่อๆกันมาว่าจะได้ A ในแต่ละวิชา แต่ถ้าใครไม่ได้ไปวิ่งเขาสามมุขก็มีความเชื่อว่าคนๆนั้นจะเรียนไม่จบ และวันนี้ฉันก็ได้ไปวิ่งเขาสามมุขมาเพื่อทำตามประเพณีของมหาวิทยาลัยบรูพาตามความเชื่อที่ว่าวิ่งเขาสามมุขแล้วจะเรียนจบ เหยียบ A ณ จุดเส้นชัยก็จะได้ A พี่ที่คณะศึกษาศาตร์ได้นัดให้ฉันมาตัั้งแต่ตี 2 เพื่อรวมตัวแล้วนั่งรถจากมหาวิทยาลัยมาลงที่เขาสามมุข นิสิตมหาวิทยาลัยบรูพาต่างก็มีความเชื่อตามประเพณี จึงทำให้มีผู้มีเข้าร่วมประเพณีนี้นับพันนับหมื่นคน พอรถที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมให้ไปลงที่ตีนเขา ก็นั่งรอถึงเวลาออกตัว แล้วก็เริ่มเดินไปเรื่อยๆ จากลงเขาสามมุขสู่แหลมแท่น ทำให้รู้ว่าบรรยากาศในตอนเช้าๆนั้นเป็นอากาศที่บริสุทธิ์และดีมากๆ แล้วก็เดินเรียบไปฝั่งชายหาดบางแสน หาดบางแสนนั้นเป็นหาดที่ยาวมากๆ ปกติเวลาเรามาก็มักจะนั่งรถกันทั้งนั้นเลยอาจจะทำให้รู้สึกว่าหาดบางแสนมันสั้นเพราะเวลาขับรถเพียงแค่เวลานิดเดียวก็ถึงจุดหมาย แต่ถ้าใครได้ลองเดินแร้วจะรู้ว่าหาดบางแสนนั้นเป็นหาดที่ไม่สั้นเลยทีเดียว มันเป็นหาดที่ยาวไกลมากๆ แล้วยิ่งบวกกับการเดินมาตั้งแต่ลงเขาผ่านแหลมแท่นทำให้เหนื่อยเมื่อยล้าและรู้สึกอ่อนเพลียมาก แต่ก็ยังอดทนไว้อยู่เนื่องจากตั้งใจไว้แล้วว่ายังไงก็ต้องเดินไปเหยียบ A ให้ได้

 


รูปภาพความภูมิใจ และ สภาพ55
รอแล้วก็รอ 
รอนานเกินไป หลับดีกว่า

ฟ้าสางแล้วออกตัวได้



ครึ่งทางครึ่งชิวิตแล้วเพื่อน

อีกนิดเดี่ยวสู้ตายจ๊าก..............
พี่ดูน้องๆ
 ถึงแล้วโว้ย

จบแล้ว  ปีนี้เจอกันปีหน้าคับ


วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 3 การแบ่งประเภทสื่อการสอน

  การแบ่งประเภทสื่อการสอน




สื่อการสอนInstructional  Media หมายถึงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  ความคิดและทักษะต่าง ๆ ไปสู่ผู้เรียน 
ความสำคัญ
สื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ  เพราะสื่อจะเป็นตัวการสำคัญที่นำเอาความรู้  ความคิด  ประสบการณ์และทักษะต่าง  ๆ ไปสู่ผู้เรียน  กระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องใช้สื่อ  สื่อการสอนทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม
ประเภทของสือการสอน
}  แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
Percival  and  Ellington(1984)  และ  De  Kieffer  (1965)  ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท
สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)
สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )
}  แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ
2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง  และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์
3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน 
สื่อการสอนประเภทวัสดุ  (Software  or  Material)
                                -  เป็นสิ่งที่ได้รับบรจุเนื้อหาสาระเรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่าง ๆ
  สื่อการสอนอุปกรณ์  (Hardware)
                                -  เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล  ความรู้  หรือสาระ  ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา   
สื่อการสอนประเภทเทคนิคและวิธีการ(Techniques  and  Methods)
                                สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด  รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  หรือเทคนิค  ที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์  แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้
}  สื่อการสอน  แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale
1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย      7.  โทรทัศน์
2. ประสบการณ์จำลอง                            8. ภาพยนตร์
3.  ประสบการณ์นาฏการ                        9.  ภาพนิ่ง
      4.   การสาธิต                                                10.  ทัศนสัญญลักษณ์           
        5.     การศึกษานอกสถานที่                    11.  วัจนสัญญลักษณ์
         6.     นิทรรศการ

}  แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม  (Edgar  Dale)
1.   ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย  (Direct  or  Purposeful  Experiences) 
           เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้เรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติเข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  เช่น  การฝึกทำอาหาร  การทดลองต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับโปรเจคเตอร์
2. ประสบการณ์จำลอง  (Contrived  experience)
      เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง  อาจเป็นสิ่งของจำลอง  หรือสถานการณ์จำลอง  เช่น  การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง  Flight  Simulator
3.  ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง  (Dramatized  Experience)
       เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนรู้จากประสบการณ์  ในการแสดงบทบาทสมมุติ  หรือการแสดงละคร  นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มีข้อจำกัดในเรื่องยุคสมัยเวลา
4. การสาธิต  (Demonstration)
         เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย  เพื่อให้เห้นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ  เช่นการสาธิตอาบน้ำเด็กแรกเกิด
5.  การศึกษานอกสถานที่  (Field  Trip)
        เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว  หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ  ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม
6.  นิทรรศการ  (Exhibits)
         เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่าง  ๆที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ  หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้านนิเทศ
7. โทรทัศน์  (Television)
         เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ  เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน  เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน  ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด  ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์  หรือเป็นรายการสดก็ได้  การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
8. ภาพยนตร์  (Motion  Picture)
      เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว  มีเสียงประกอบ  และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม  มาเป็นสื่อในการสอน  ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง  หรือจากภาพอย่างเดียวถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ
         9.  ภาพนิ่ง  วิทยุ  และแผ่นเสียง  (Recording, Radio, and  Still  Picture)
            เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็นภาพนิ่ง  วิทยุ  หรือเทปบันทึกเสียง  เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว  เช่น  สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ  สไลด์  หรือภาพวาด  ภาพล้อ  หรือภาพเหมือนจริง  ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ  สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง  ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้  ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก  ก็สามารถเข้าใจใจเนื้อหาบทเรียนได้  เนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ
10. ทัศนสัญญลักษณ์  (Visual  Symbols)
      วัสดุกราฟิกทุกประเภท  เช่น  แผนที่  แผนภูมิ  แผนสถิติ  แผนภาพ  การ์ตูนเรื่อง  หรือสัญญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย  การใช้สื่อประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อเป็นอย่างดี  เนื้อหาจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญญลักษณ์  หรืองานกราฟิก  ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย
11.วจนสัญญลักษณ์  (Verbal  Symbol)
     เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด  คำบรรยาย  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  หรือสัญญลักษณ์พิเศษต่าง  ๆที่ใช้ในภาษาการเขียน  ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้  จัดว่าประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด
มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภท  วัสดุ  ว่าเป็น  สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง 
 ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
-      จากการที่บอกว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุ เป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลืองผมมีความเห็น
ว่าไม่จริงเลย เพราะที่จริงแล้วสื่อการสอนประเภทวัสดุไม่ใช่สิ่งที่สิ้นเปลืองเลย  อีกทั้ง
ยังมีการนำมาทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุดอีกด้วย  ถึงแม้บางทีอาจจะมีราคาสูง 
แต่ถ้าสามารถทำประโยชน์ได้อย่างสูงสุดก็ถือว่าคุ้มค่า
กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
                            -การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือการกระทำจริง          เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง แล้วจึงเรียนรู้ในการเฝ้าสังเกตุในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบการณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น





วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 2 ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน

ก้าวแรกที่ได้ก้าวมายังมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็รุู้สึกภมูิใจเป็นอย่ามากและยิ่งได้เข้ามาเรียนในรายวิชา เทคโนโลยีทางการศึกษาได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบต่างๆของรายวิชานี้ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยี ประยุคใช้ในการเรียนการสอน คือ  E-Learning จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีการสอนการใช้สื่อที่เหมาะสมต่อการเป็นครู และเป็นการทบทวนความรู้อีกครั้งจากภายในคาบเรียนที่อาจารย์ได้สอนจบไปอีกด้วย แล้วยังได้รุู้องค์ประกอบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาว่าเป็นอย่างไร อย่างเช่น ความหมายที่ คารเตอร์ วี กูด ได้ให้ความหมายไว้
และการได้รู้ถึงขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่มี 5ขอบข่าย 3แนวคิด 5 วิธีระบบ และ นวัตกรรมการศึกษา และมีการให้ผู้เรียนหัดคิดวิเคราะห์ มากขึ้น จากการให้ดู VDO แล้วให้วิเคราะห์จากบทเรียนที่ไดีเรียนมานี้  สามารถทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชานี้มากขึ้น และทำให้ผุ้เรียนเกิดการทำงานยังมีระบบมากขึ้น มีการว่างแผนต่างๆ  อย่างมีระบบแบบแผน

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Educational Technology in my dreams


สวัสดีครับ  ทุกท่าน ที่ได้มาเข้าชม blog ที่น่าสนใจมาก ผมในนามของผู้เขียน มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เสนอแนะความคิดและองค์ความรู้ต่างๆที่ น่าสนใจให้ผู้ที่อยากรู้ใน blog ของกระผมได้ติดตามอยู่ตลอดเวลา ส่วนความคาดหวังในในการเรียนวิชานี้ คือ  การที่อาจารย์ให้ความรู้แก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่ และแนะนำความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาให้ผู้เรียน รู้เท่าทัน อยู่ตลอดเวลา ส่วนการเรียนในชั้นเรียนนั้นคิดว่า น่าจะให้อาจารย์  มีเสียงหัวราะบาง  ส่วนที่เหลือ กระผม  คิดว่าดีหมดแล้ว  
ฟอสซิล


ฟอสซิลกุ้งพบในเลบานอน

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (อังกฤษ: fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

การเกิดซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์มีหลายชนิด อาจเป็นสิ่งที่มีความคงทนยากต่อการทำลาย เช่น ฟัน กระดูก หรือ เปลือก แต่ในบางสภาวะ อาจมีการเก็บรักษาซากสัตว์ทั้งตัวให้คงอยู่ได้ เช่น ช้างแมมมอท ที่ไซบีเรีย
การเปลี่ยนแปลงจากซากสิ่งมีชีวิตมาเป็นซากดึกดำบรรพ์นั้น เกิดได้ในหลายลักษณะ โดยที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆถูกเปลี่ยน ช่องว่าง โพรง หรือรู ต่างๆในโครงสร้างอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น เรียกขบวนการนี้ว่าการกลายเป็นหิน (petrification) หรือ เนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ ถูกแทนที่ด้วยแร่ โดยขบวนการแทนที่ (replacement)
เปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิตที่จมอยู่ตามชั้นตะกอน เมื่อถูกละลายไปกับน้ำบาดาล จะเกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า รอยพิมพ์ (mold) หากว่าช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึก จะได้ซากดึกดำบรรพ์ ในลักษณะที่เรียกว่ารูปหล่อ (cast)
การเพิ่มคาร์บอน (carbonization) มักเป็นการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์จำพวกใบไม้หรือสัตว์เล็กๆ ในลักษณะที่มีตะกอนเนื้อละเอียดมาปิดทับซากสิ่งมีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป ความดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและก๊าซถูกขับออกไป เหลือไว้แต่แผ่นฟิล์มบางๆของคาร์บอน หากว่าฟิล์มบางๆนี้หลุดหายไป ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นตะกอนเนื้อละเอียดจะเรียกว่า impression
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบาง เช่นพวกแมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ โดยปกติทำได้ยาก วิธีการที่เหมาะสม สำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ก็คือการเก็บไว้ในยางไม้ ซึ่งยางไม้นี้จะป้องกันสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จากการทำลายโดยธรรมชาติ
นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ยังอาจเป็นร่องรอย ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต รอยคืบคลาน รอยตีน ที่อยู่ในชั้นตะกอนและกลายเป็นหินในระยะเวลาต่อมา หรืออาจเป็นช่อง รู โพรง (burrows) ในชั้นตะกอน ในเนื้อไม้ หรือในหินที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และมีแร่ไปตกผลึกในช่องเหล่านี้ มูลสัตว์หรือเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะ (coprolites) เป็นซากดึกดำบรรพ์ ที่มีประโยชน์ในการบอกถึงนิสัยการกินของสัตว์นั้นๆ หรืออาจเป็นก้อนหินที่สัตว์กินเข้าไป (gastroliths) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร

ความสำคัญของซากดึกดำบรรพ์
เมื่อศึกษาจำนวนซากดึกดำบรรพ์ที่พบได้ พบว่ามีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก ซากสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกทำลายไปตามธรรมชาติ ดังนั้นการเก็บรักษาซากสิ่งมีชีวิตจนกระทั่งกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีสภาวะที่พิเศษ ซึ่งได้แก่ การตกลงตัวและถูกเก็บรักษาไว้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการป้องกันการถูกทำลายจากธรรมชาติ และ การที่ต้องมีส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นส่วนที่ถูกเก็บรักษาได้ง่ายกว่าส่วนที่นิ่ม
ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหิน มีความสำคัญอย่างมาก มันแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ใช้เป็นตัวกำหนดอายุของหิน และนำมาใช้เป็นหลักฐานในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินในบริเวณต่างๆ สิ่งที่นักธรณีวิทยาสนใจเป็นพิเศษ เกี่ยวกับการนำซากดึกดำบรรพ์ มาเป็นตัวกำหนดอายุของหิน คือ ซากดึกดำบรรพ์ดรรชนี (index fossils) ซึ่งเป็นซากของสิ่งมีชีวิตที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่มีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ ซึ่งการที่พบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีในชั้นหินต่างบริเวณกัน นักธรณีวิทยาสามารถกำหนดได้ว่าหินที่พบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีเหล่านั้นมีอายุในช่วงเดียวกัน แต่อย่างไรก็ดี ในชั้นหินต่างๆ อาจพบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีได้ยาก ดังนั้นอาจจำเป็นต้องใช้กลุ่มของซากดึกดำบรรพ์ ในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินในบริเวณต่างๆ ซึ่งจะมีความแม่นยำกว่าการใช้ซากดึกดำบรรพ์เพียงชนิดเดียว
นอกจากประโยชน์ที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ยังถูกนำมาใช้ในการบอกถึงสภาพแวดล้อมของการสะสมตัวของตะกอนด้วย ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมการสะสมตัวอาจได้จากการศึกษารายละเอียดจากชั้นหิน แต่ซากดึกดำบรรพ์อาจให้รายละเอียดที่มากกว่า